หลายคนคงเริ่มได้ยินคนพูดถึง “ไมโครโดส” กันมากขึ้น และอาจมีคำถามเหล่านี้ขึ้น ไมโครโดส หรือ psychedelic microdosing เป็นศัพท์ที่ค่อนข้างเฉพาะสำหรับการใช้สารเปิดจิต หรือไซเคอเดลิกในปริมาณน้อยๆ จนไม่รู้สึกถึงอาการมึนหรือเมาแต่อย่างใด แต่สภาวะทางจิตใจจะต่างจากวันที่ไม่ได้ใช้อย่างรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับสารเปิดจิตที่ใช้ เช่น ถ้าเป็นการไมโครโดสแอลเอสดี โดยมาจะรู้สึกถึงความมีชีวิตชีวา มีกำลัง มีแรงบันดาลใจ มีความคิดสร้างสรรค์ อยากทำโน้นนี่โดยไม่รู้สึกเบื่อ จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริหาร นักเขียนโปรแกรม นักออกแบบ พนักงานออฟฟิสที่ต้องใช้สมองมากๆ ฯลฯ มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในซิลิคอนวาเลย์ (Silicon Valley) แหล่งพัฒนาไอทียักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาและของโลก
แต่ในที่นี่จะขอพูดถึงการไมโครโดสเห็ดเมาหรือ psilocybin mushroom หรือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในนาม “magic mushroom” ที่ปริมาณการใช้หรือโดสปกติจะอยู่ที่ 2-3 กรัมแห้ง แต่การไมโครโดสเห็ดจะใช้แค่ 1 ใน 10 ของโดสปกติคือประมาณ 200-300 มิลลิกรัมแห้งเท่านั้น ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดอาการมึนหรือเห็นภาพแสงสีต่างๆ อย่างการใช้ในปริมาณปกติ หากยังมีอาการมึนบ้างแม้จะเล็กน้อยจะไม่ถือว่าเป็นการไมโครโดสแต่จะเป็นการใช้แบบโดสต่ำ (low dose) ซึ่งจุดประสงค์จะต่างกันออกไป ผู้ที่ไมโครโดสหากไม่สังเกตตัวเองดีๆ จะแทบไม่รู้สึกเลยด้วยซ้ำว่าวันนี้รับไซเคอเดลิกเข้าไป สามารถทำกิจกรรมระหว่างวันได้อย่างปกติ ไม่ว่าจะเป็นการขับขี่รถ ทำงานกับคนหรือเครื่องจักร ประชุมสัมมนา ฯลฯ (แต่ถ้าเป็น low dose ไม่ควรทำโดยเฉพาะการขับขี่รถและการทำงานกับเครื่องจักร) แต่จะรู้สึกได้ว่าวันนี้อารมณ์ดีกว่าทุกวัน ไม่ค่อยโกรธใคร ไม่ค่อยหงุดหงิด ตัวเบากว่าวันอื่น ทำอะไรก็เหมือนจะสบายตัวไปหมด รู้สึกถึงความมีสติ ไม่คิดกังวลมากเกินไป อยู่กับปัจจุบันมากขึ้น นั่งสมาธิได้นิ่งขึ้น ฯลฯ โดยการไมโครโดสไม่ต้องทานทุกวัน แต่จะทานทุกๆ 3 วัน เช่นหากทานวันจันทร์ จะทานอีกทีก็วันพฤหัสฯ เป็นต้น ที่ต้องเว้นเพราะร่างกายจะมีอาการดื้อ (tolerance) หากใช้เห็ดติดต่อกัน จึงต้องเว้นอย่างน้อย 2 วันก่อนจะทานอีกครั้ง
ด้วยผลทางความรู้สึกดังกล่าว การไมโครโดสเห็ดจึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า เป็นการช่วยปรับอารมณ์ให้เป็นบวกมากขึ้นก่อนจะบำบัดด้วยเห็ดโดสสูง (5 กรัมแห้งขึ้นไป) ที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญดูแลอย่างใกล้ชิด การไมโครโดสเห็ดยังสามารถใช้แทนยาต้านซึมเศร้าอย่าง Prozac, Luvox, Zoloft, Valium, Benzodiazepine ฯลฯ โดยไม่มีผลข้างเคียง ไม่ต้องทานทุกวัน และมีโอกาสหายขาดจากอาการซึมเศร้าได้หากมีการฝึกกิจกรรมเจริญสติ (mindfulness activities) ควบคู่กันไปด้วย
สาเหตุที่การฝึกเจริญสติควบคู่กับการไมโครโดสเห็ดสามารถรักษาโรคซึมเศร้าให้หายขาดได้ในผู้ป่วยบางรายก็เพราะ การไมโครโดสเห็ดจะช่วยให้คิดบวกได้ง่ายขึ้น มีสติมากขึ้น รู้เท่าทันความรู้สึกตัวเองมากขึ้น ละเอียดอ่อนกับสัมผัสต่างๆ มากขึ้น ฉะนั้นหากฝึกกิจกรรมเจริญสติด้วยสภาวะจิตใจเช่นนี้ จะช่วยให้ทำได้ดีขึ้นมาก เช่น หากเป็นการนั่งสมาธิ เดินจงกรม สวดมนต์ภาวนาต่างๆ จะรู้สึกได้ว่าจิตใจนิ่งขึ้น เข้าถึงความสงบได้ง่ายขึ้นจนเกิดเป็นความปิติ หรือหากเป็นการฝึกโยคะ ไท่จี๋ เล่นดนตรี หรือแม้แต่เล่นกีฬา ก็จะรู้สึกว่าทำได้ดีขึ้นโดยที่แทบจะไม่ต้องพยายามมากกว่าเดิม หากเกิดความผิดพลาดก็ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องใหญ่ ให้อภัยตัวเองและผู้อื่นได้ง่ายขึ้น ซึ่งเหล่านี้ร่างกายจะจำได้ว่าเป็นสภาวะที่เราสามารถเข้าถึงได้ เกิดเป็นความมั่นใจและเชื่อว่าเราทำได้จริงๆ คล้ายกับเด็กที่เริ่มหัดขี่จักรยาน แรกๆ ก็อาจจะต้องมีล้อเสริมมาช่วยประคองไว้ แต่พอฝึกไปเรื่อยๆ จนพอขี่ได้เกิดเป็นความมั่นใจก็ไม่จำเป็นต้องใช้ล้อเสริมอีกต่อไป การไมโครโดสเห็ดก็เหมือนกับล้อเสริมที่เข้ามาช่วยในยามที่เรายังไม่มั่นใจถึงสภาวะจิตใจเราเอง โดยเราก็ต้องฝึกหัดการมีสติ คิดบวก และอยู่กับปัจจุบันไปเรื่อยๆ ให้เกิดเป็นความมั่นใจ จนเราไม่จำเป็นต้องใช้ตัวช่วยอีกต่อไป
การไมโครโดสเห็ดยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการปรับสภาพจิตใจให้พร้อมสำหรับการบำบัดในระดับเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้เห็ดโดสสูงภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญหรือการเข้าพิธีอายาวัสกา เนื่องจากอายาวัสกาจะทำปฏิกิริยารุนแรงกับยาต้างซึมเศร้าอุตสาหกรรม โดยผู้ที่จะเข้าพิธีดื่มอายาวัสกาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องงดใช้ยาต้างซึมเศร้าเหล่านี้เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน มิเช่นนั้นอาจเกิดผลรุนแรงถึงชีวิตได้ แต่ผู้ที่ใช้ยาต้านซึมเศร้าอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานมักจะไม่สามารถหยุดใช้ยาเหล่านั้นได้ ฉะนั้นการไมโครโดสเห็ดจึงสามารถเป็นสะพานช่วยให้คนเหล่านี้ค่อยๆ ลดการใช้ยาต้านซึมเศร้าลง จนหยุดใช้ได้และเหลือเห็ดเพียงอย่างเดียวที่เขาสามารถหยุดไมโครโดสเห็ดได้เพียงไม่กี่วันก่อนพิธีอายาวัสกา หรือหากดีไปกว่านั้น ในระหว่างที่เขาไมโครโดสเห็ดแทนการใช้ยาต้านซึมเศร้า เขาอาจจะรู้สึกดีขึ้นมากจนรู้สึกว่าเขาไม่จำเป็นต้องเข้าพิธีอายาวัสกา หรือการบำบัดรูปแบบอื่นแล้วก็เป็นได้
บางคนอาจจะสงสัยว่าแล้วการไมโครโดสไซเคอเดลิกจะเกิดอาการเสพติดสารนั้นๆ มั้ย หากเป็นการเสพติดทางเคมี คำตอบคือไม่อย่างแน่นอนครับ เพราะสารเปิดจิตส่วนใหญ่ทำหน้าที่แทนสารสื่อประสาทอย่าง serotonin เป็นการชั่วคราว ไม่ได้ไปเปลี่ยนความสามารถในการรับสารสื่อประสาทของเซลสมอง จึงไม่ก่อให้เกิดการอยาก (craving) หรือหยุดใช้แล้วจะมีอาการ “ลงแดง” (withdrawal symptoms) แบบยาเสพติดอย่างเฮโรอีนหรือโคเคน แต่หากเป็นการเสพติดทางจิตใจ หรือพูดง่ายๆ ว่าเสพติดเพราะติดใจในความสุขที่ได้จากผลของสารนั้นๆ คำตอบคืออาการเสพติดแบบนี้สามารถเกิดได้กับทุกอย่าง ที่ให้ความสุขกับเรา ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาล ขนมหรืออาหารต่างๆ ที่เราชอบ หรือแม้แต่พฤติกรรมอย่างการมีเพศสัมพันธ์ การออกกำลังกาย การออกไปเที่ยว ฯลฯ ซึ่งจะเห็นได้ว่าบางอย่างไม่ใช่เรื่องไม่ดี การใช้สารเปิดจิตก็เช่นเดียวกัน หากไมโครโดสเพียงเพื่อความสุขในแต่ละวัน คนๆ นั้นก็มีแนวโน้มที่จะติดสุขจากการไมโครโดส ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด แต่สำหรับผู้ที่ต้องการจะรักษาอาการอย่างโรคซึมเศร้า จะต้องมีความชัดเจนว่าเราไมโครโดสไปเพื่ออะไร และต้องทำควบคู่กับการฝึกกิจกรรมเจริญสติเพื่อช่วยรักษาอาการนั้น เมื่ออาการนั้นหายหรือดีขึ้นก็ไม่จำเป็นต้องไมโครโดสต่อก็ได้ แต่อาจจะกลายเป็นการติดสุขจากกิจกรรมเจริญสติที่เราฝึกนั้นแทน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใดเช่นกัน
* บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อให้ความรู้ในเชิงวิชาการ และลดความเสี่ยงจากความรู้เท่าไม่ถึงการ ไม่มีจุดประสงค์ในการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ใช้สารผิดกฎหมายแต่อย่างใด